เมื่อภัยพิบัติแผ่นดินไหวเกิดขึ้นมักจะสร้างความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ปัจจุบันมีการคิดค้นแนวทางหรือวิธีการทางวิศวกรรมการออกแบบสิ่งก่อสร้างให้สามารถรองรับผลกระทบจากแผ่นดินไหว หรือการออกแบบให้มีรูปแบบการวิบัติอย่างปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย ทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างใหม่ ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดวางวัสดุหรือการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติวัสดุให้สอดรับกับพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว ในประเทศไทยถือว่ามีความเสี่ยงจากภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวอยู่บ้างพอสมควรโดยเฉพาะภาคตะวันตกและภาคเหนือ โดยมักจะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวจากนอกประเทศเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันหลายๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างมีมาตรการในการรับมือกับภัยพิบัตินี้มากขึ้น กฎข้อบังคับการออกแบบโครงสร้างกับแผ่นดินไหวในไทยในประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในหัวข้อดังกล่าว ดังเช่น กฎกระทรวงฉบับ พ.ศ. 2550 โดยกล่าวถึงการพิจารณาโครงสร้างประเภท อาคารหรือสิ่งก่อสร้างสาธารณะ โดยต้องออกแบบตามมาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานอื่นๆที่สภาวิศวกรรับรอง พื้นที่บังคับใช้กฎกระทรวง 2 พื้นที่คือ 1. พื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 5 จังหวัด 2. พื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัดและภาคตะวันตก 3. พื้นที่ในภาคใต้ 7 จังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง
มาตรฐานเหล็กเสริมในต่างประเทศ
หากมองไปถึงคุณสมบัติของวัสดุในโครงสร้างอย่างเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อพฤติกรรมของโครงสร้าง เหล็กเสริมคอนกรีตในต่างประเทศมีการกำหนดมาตรฐานเหล็กเสริมลักษณะเป็นแบบเหนียว เพื่อใช้กับโครงสร้างต้านแรงแผ่นดินไหว หรือseismic rebar ตัวอย่างเช่น เหล็กชั้นคุณภาพ BS500C ตามมาตรฐาน BS 4449 หรือ GR500E ในมาตรฐานAS4617 ที่ได้กำหนดบังคับค่าอัตราส่วน UTS/YS และค่า % Agt ต่ำสุดที่ยอมให้ไว้เป็นผลให้วัสดุมีคุณสมบัติแบบเหนียวช่วยชลอการวิบัติของโครงสร้าง หรือในมาตรฐานการออกแบบ อย่าง ACI
ที่มีข้อกำหนดการใช้เหล็กเส้นในโครงสร้าง คสล. รับแรงแผ่นดินไหวที่กำหนดให้คุณสมบัติเหล็กเส้นต้องมีค่า UTS/YS อยู่ที่ 1.25 เป็นต้น เหล็กเสริมคอนกรีตกับโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหว แม้ว่าในส่วนของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) หรือมาตรฐานการออกแบบก่อสร้างของไทยยังไม่มีข้อกำหนดถึงเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตสำหรับโครงสร้าง คสล.ต้านแผ่นดินไหว แต่ในปัจจุบันผู้ผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตได้ออกผลิตภัณฑ์โดยอ้างอิ่งค่าควบคุมตามมาตรฐานเหล็กเสริมต้านแผ่นดินไหวในต่างประเทศ อย่าง ผลิตภัณฑ์เหล็กเสริมคอนกรีตต้านแผ่นดินไหว SD40S ของ บริษัท ทาทาสตีล(ประเทศไทย)จำกัด(มหาชน) ภายใต้แบรน ทาทาทิสคอน ซึ่งออกวางจำหน่ายในตลาดตั้งแต่ปี2556 จนถึงปัจจุบันมีการใช้เหล็กดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ ปีละ 36,000 ตัน โครงการที่เลือกใช้ส่วนใหญ่เป็นโครงการอาคารขนาดกลางและขนาดใหญ่ในบริเวณเขตพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติทางภาคเหนือโดยเจ้าของโครงการเหล่านี้จะเลือกใช้เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัย แนวโน้มการใช้งานเริ่มขยายเป็นวงกว้างมากขึ้นและปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปีรวมถึงการผลิตในชั้นคุณภาพที่สูงขึ้นอย่าง SD50 ซึ่งกำลังอยู่ในกระบวนการทดสอบการผลิตคาดว่าน่าจะออกสู่ตลาดในเร็วๆนี้ เช่นกัน