แผ่นดินไหวเมียนมา 2566 ส่งผลกระทบต่ออาคารและสิ่งปลูกสร้างในไทย

27 มิถุนายน 2023

แผ่นดินไหวเมียนมา 2566 ส่งผลกระทบต่ออาคารและสิ่งปลูกสร้างในไทย

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6 มีจุดศูนย์กลางที่นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเมียนมา เกิดขึ้นเมื่อเวลา 8.40 วันที่ 19 มิ.ย.2566 ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร ซึ่งมีระยะห่างจากอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ประมาณ 289 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ 490 กิโลเมตร โดยมีสาเหตุเกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกายในประเทศเมียนมา  ซึ่งส่งผลกระทบที่ประชาชนสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ดังนี้

1) กรุงเทพมหานคร 22 เขต (พื้นที่เขตดุสิต จตุจักร บางเขน สีลม ลาดพร้าว บางพลัด ราชเทวี ทุ่งครุ ปทุมวัน ห้วยขวาง หลักสี่ ดินแดง พญาไท คลองเตย ราษฎร์บูรณะ บางขุนเทียน หนองแขม คลองสาน สาทร บางรัก สวนหลวง คันนายาว)

2) จังหวัดนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด อำเภอเมือง

3) จังหวัดปทุมธานี เทศบาลนครรังสิต

 

ด้านผู้เชี่ยวชาญ ศ.ดร.อมร พิมานมาศ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยได้ระบุไว้ว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมีขนาด 6.0 ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง แต่เนื่องจากเกิดที่ระดับความลึกเพียง 10 กิโลเมตร ซึ่งไม่ลึกมาก จึงอาจส่งผลกระทบต่ออาคารและโครงสร้างได้ สำหรับในประเทศไทยนั้นตรวจพบการสั่นไหวของอาคารสูงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช่น ปทุมธานี จนผู้อยู่อาศัยรู้สึกได้ ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่าอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในระดับไม่ลึก, ระยะห่างระหว่างจุดเกิดเหตุจนถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 400-500 กิโลเมตร, สภาพชั้นดินของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นชั้นดินเหนียวอ่อน สามารถขยายคลื่นแผ่นดินไหวให้รุนแรงขึ้น  เกิดการสั่นพ้องระหว่างโครงสร้างกับชั้นดิน โดยเฉพาะอาคารสูง จึงเกิดการสั่นสะเทือนมากกว่าอาคารเตี้ย อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวในครั้งนี้มีขนาดไม่ใหญ่มาก จึงไม่น่าส่งผลกระทบให้โครงสร้างอาคารเสียหายรุนแรง แต่เจ้าของอาคารก็ไม่ควรประมาท หากตรวจพบรอยร้าวหรือการกะเทาะของปูนซึ่งเป็นสัญญานเตือนภัย ก็ควรให้วิศวกรเข้ามาตรวจสอบในรายละเอียดต่อไป

ส่วนในอนาคตรอยเลื่อนสะกายอาจสร้างความรุนแรงได้ถึงระดับ 8.0 ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงมาก อาจทำให้โครงสร้างเสียหายมากกว่านี้หลายเท่า จึงต้องเตรียมการโครงสร้างอาคารให้รับมือการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้

ในแง่ของกฎหมายควบคุมอาคาร มีกฎกระทรวงฯ ปี 2550 และปรับปรุงปี 2564 บังคับให้อาคารต้องออกแบบให้ต้านแผ่นดินไหว แต่ถ้าเป็นอาคารเก่าที่ก่อสร้างก่อนปี 2550 จะมีความเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากก่อสร้างมาก่อนที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท เจ้าของอาคารเก่าจึงควรจัดหาวิศวกรประเมินและเสริมความแข็งแรงอาคารเพื่อรองรับแผ่นดินไหวที่อาจจะรุนแรงกว่านี้ในอนาคต

กฎกระทรวง 2564

ด้านกฎหมายควบคุมอาคาร มีกฎกระทรวง 2564 เป็นฉบับแก้ไขจากฉบับปี 2550

โดยได้กำหนดพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว 43 จังหวัด ดังนี้

 

  • บริเวณที่ 1 บริเวณหรือพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง
  • ประกอบด้วย กระบี่ ชุมพร ตรัง นครพนม นครศรีธรรมราช บึงกาฬ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก เพชรบุรี เลย สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี และหนองคาย
  • บริเวณที่ 2 บริเวณหรือพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบปานกลาง+ดินเหนียวอ่อน
  • ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร ชัยนาท นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พังงา ภูเก็ต ระนอง ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี และอุทัยธานี
  • บริเวณที่ 3 บริเวณหรือพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบสูง
  • ประกอบด้วย กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย และอุตรดิตถ์
  • โดยกฎกระทรวงบังคับให้อาคารตามข้อกำหนด ต้องมีการออกแบบโดยคำนึงถึงผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว ซึ่งในส่วนของรายละเอียดการออกแบบเป็นไปตามที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคารประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา หรือหลักเกณฑ์ซึ่งจัดทำขึ้นโดยส่วนราชการที่มีหน้าที่และอำนาจในเรื่องนั้น

เหล็กเส้น EF ทาทา ทิสคอน เหนียวพิเศษ Super Ductile

เพิ่มความมั่นคงปลอดภัยให้ทุกโครงสร้างอาคารในเขตเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติพิเศษดังต่อไปนี้

  1. ดัดง่ายกว่าเพราะมีเนื้อเหล็กเหนียวกว่าเหล็กเส้นทั่วไปถึง 20%
  2. มีการยืดตัวที่ดีกว่า เพราะสามารถส่งผ่านแรงในเหล็กได้สม่ำเสมอ
  3. โครงสร้างอาคารที่ใช้เหล็กเหนียวพิเศษจะยืดตัวได้มากกว่าโครงสร้างที่ใช้เหล็กทั่วไป 15%
  4. รับพลังงานที่จะทำให้โครงสร้างพังทลายได้มากกว่าเหล็กทั่วไป 25% เพราะเป็นเหล็กชนิดเหนียวพิเศษ
  5. หล็กเส้นเหนียวพิเศษ Super Ductile มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับเหล็กเส้นเหนียวพิเศษในมาตรฐานสากลเช่น มาตรฐาน BSI ประเทศอังกฤษ มาตรฐาน SS ประเทศสิงคโปร มาตรฐาน EC2 สหภาพยุโรป และ ASTM ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้นสอบถามรายละเอียดสินค้าและราคา เหล็กเส้น EF ทาทา ทิสคอน เหนียวพิเศษ Superductile ได้ ณ ร้านตัวแทนจำหน่ายเหล็กทาทา ทิสคอน ทั่วประเทศ ตรวจสอบรายชื่อร้านค้าได้ที่ http://bit.ly/3NGX9Lj

    #TataTiscon #TataSteel #เหล็กเส้นทาทา #มาตรฐานมอก. #เหล็กเส้น #เหล็กข้ออ้อย #เหล็กก่อสร้าง #Footing #เหล็กเส้นเหนียวพิเศษ #Superductile #เหล็กทาทา #ทาทาสตีล #เหล็กปลอก #stirrup #ฐานรากสำเร็จรูป #footing #เหล็กเส้นเหนียวพิเศษ

     

    ——————————————