FAQ ปัญหาคุณภาพที่อาจพบบ่อย!

1 ธันวาคม 2021

คำถามทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาคุณภาพสินค้า

1.การแตกหักลักษณะแบบถ้วยและกรวย (CUP and CONE Breakages)

ลักษณะรอยบกพร่อง :

ลักษณะแบบถ้วยและกรวยขาดในขบวนการดึงลดขนาด

สาเหตุที่เป็นไปได้ :

  • อาจเกิดจากส่วนผสมทางเคมีของวัถตุดิบไม่สม่ำเสมอ
  • การออกแบบมุม Die อาจไม่เหมาะสม

การตรวจสอบและแก้ไขเบื้องต้น

  • ตรวจสอบการออกแบบมุม Die ว่าน้อยหรือมากเกินไปหรือไม่ โดยต้องมีความสัมพันธ์กับความเร็วของการดึงลดขนาดที่เหมาะสม
  • หรือแจ้งผู้ผลิตให้ช่วยตรวจสอบและวิเคราะห์หาสาเหตุ เพิ่มเติม

2.รอยแตกร้าวตามรอยตัดขวาง (TRANSVERSE CRACKS)

ลักษณะรอยบกพร่อง :

ลักษณะรอยแตกร้าวตัดขวางขนานกับตัวลวดและบริเวณที่พบรอยดังกล่าวสีผิวลวดจะเป็นแถบมัมวาว

สาเหตุที่เป็นไปได้ :

อาจเกิดจากผงหล่อลื่นที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ ทำให้ความร้อนสะสมขณะทำการลดขนาด จนอุณภูมิสูงเกินไปและทำให้ผิวลวดบริเวณดังกล่าวเกิดความเสียหายได้

การตรวจสอบและแก้ไขเบื้องต้น

    • หมั่นกวนผงหล่อลื่นบ่อยๆ ขณะทำการลดขนาด
    • ตรวจสอบความชื้นของผงหล่อลื่นที่ใช้
    • เปลี่ยนผงหล่อลื่นใหม่เมื่อสังเกตุว่าประสิทธิภาพของผงหล่อลื่นลดลง

3.ลักษณะรอยบกพร่องแบบรอยตีนกา(Chevron crack)

ลักษณะรอยบกพร่อง :

รอยบั้งหรือรอยตีนกาปรากฏบนพื้นผิวด้านนอกของเส้นลวดเป็นระยะๆ (สังเกตด้วยตาเปล่าหรือกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ)

สาเหตุที่เป็นไปได้ :

อาจเกิดจากผงหล่อลื่นไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม ในขณะดึงลดขนาด

การตรวจสอบและแก้ไขเบื้องต้น

    • หมั่นกวนผงหล่อลื่นบ่อยๆ ขณะทำการลดขนาด
    • ตรวจสอบความชื้นของผงหล่อลื่นที่ใช้
    • เปลี่ยนผงหล่อลื่นใหม่เมื่อสังเกตุว่าประสิทธิภาพของสารหล่อลื่นลดลง

4.ลักษณะรอยบกพร่องแบบรอยตีนกา(Surface defect)

ลักษณะรอยบกพร่อง :

รอยบั้งหรือรอยตีนกาปรากฏบนพื้นผิวด้านนอกของเส้นลวดเป็นระยะๆ (สังเกตด้วยตาเปล่าหรือกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ)

สาเหตุที่เป็นไปได้ :

อาจเกิดจากรอยบกพร่องบนพื้นผิวของวัตถุดิบ (เหล็กรีดร้อน)

การตรวจสอบและแก้ไขเบื้องต้น

    • ตรวจสอบรอยบกพร่องของวัตถุดิบ (เหล็กรีดร้อน) ที่เหลือ
    • แจ้งผู้ผลิตให้ตรวจสอบและวิเคราะห์หาสาเหตุ

5.ลักษณะรอยบกพร่องแบบหน้าตัดตรง(BRITTLE FRACTURE)

ลักษณะรอยบกพร่อง :

รอยหักแบบหน้าตัดตรงในช่วงดัดเอาสเกลออก

สาเหตุที่เป็นไปได้ :

อาจเกิดจากแรงทางกลจากภายนอกมากระทำที่ผิวลวด(แรงเสียดสี)จนทำให้เกิดความเสียหาย โครงสร้างบริเวณผิวลวดผิดปรกติ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการเชื่อมที่ไม่เหมาะสม

การตรวจสอบและแก้ไขเบื้องต้น

    • ตรวจสอบผิวลวดของวัตถุดิบ ถ้าพบรอยบกพร่องลักษณะดังกล่าวบริเวณปลายของคอลย์ให้ตัดออก
    • กรณีถ้าเกิดจากจากการเชื่อมต่อลวดไม่เหมาะสมให้ตรวจสอบ การเตรียมผิวก่อนเชื่อม, กระแสไฟ, การคืนไฟ, ตลอดจนทักษะความสามารถการเชื่อมของพนักงาน
    • หรือแจ้งผู้ผลิตให้ช่วยตรวจสอบและวิเคราะห์หาสาเหตุ เพิ่มเติม